วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คำถามท้ายบท

จากใบปลิว


1.               Intel Core i7-860 processor (2.8GHz with Turbo Boost up to 3.46GHz, 8 MB Cache)
2.               Windows 7 Professional (32 bit)
3.               640GB SATA HDD
4.               2x2GB DDR3-1333 Up to 16 GB
5.               Intel Q57 Express Chipset
6.               DVD-RW 16X SuperMulti
7.               Integrated Intel HD Graphics
8.               1 Parallel Port, 1 Serial Port
9.               Gigabit Ethernet LAN on Board
10.           Embedded High Definition Audio Codec 5.1
11.           Warranty 3 years part, Labour & onsite service

1.               ซีพียูยี่ห้อ อินเทล รุ่น คอร์ ไอเจ็ด (เซเว่น) ความเร็ว 2.8 GHz แต่สามารถปรับให้สูงได้สูงสุด 3.46 GHz ด้วยความสามารถของระบบ Turbo Boost มีแคช 8 MB
2.               วินโดวส์ 7 รุ่น 32 บิท (หมายถึงมีการติดตั้ง Windows ในคอมพิวเตอร์มาให้เลย (ระวังถ้าระบุเป็น DOS, Linux คุณอาจจำเป็นต้องซื้อ Windows ใหม่)
3.               ฮาร์ดดิสก์ความจุ 640 กิกะไบต์ (มีความจุค่อนข้างมาก)
4.               หน่วยความจำ หรือแรมมี 2 ชิ้นๆ ละ 2 กิกะไบต์
5.               ชิบเซ็ทของ อินเทล ที่เหมาะกับซีพียูตระกูล Core i
6.               ดีวีดีไดรซ์สำหรับผ่านและบันทึกลงแผ่น CD/DVD มีความเร็ว 16 เท่า
7.               การ์ดจอ
8.               พอร์ตในการเชื่อมต่อ แบบ Parallel (ต่อเครื่องพิมพ์แบบเก่า) และ Serial (สำหรับต่อเม้าส์, จอยสติกส์ หรือ พอร์ตเกมส์)
9.               มีการ์ดแลน สำหรับเชื่อมต่อเน็ตเวิร์ค ระวังความเร็วกิกะบิต
10.           ระบบเสียงรองรับ รหัสสัญญาณเสียง 5.1
11.           ประกัน 3 ปี รวมอะไหล่ ค่าแรง และบริการถึงที่บ้านหรือที่ทำงาน

2. ยกตัวอย่างซอฟต์แวร์ระบบมา 3 ตัวอย่าง
     ตอบ.  1.Window
                2.LINUX
                3.UNIX
                4.DOS

3.ให้ระบุแนวโน้มของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ มาอย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
    ตอบ.   -  Hard ware
1. จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. จะมีขนาดเล็กลง
3. จะมีอุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่ทำให้ใช้งานสะดวก
               - Software
1. จะมีโปรแกรมอำนวยความสะดวกและตรงความต้องการให้เลือกใช้มากขึ้น
2. โปรแกรมจะใช้งานง่ายขึ้น
3. มีการแข่งขันกันพัฒนา Software มากขึ้น

4. ถ้านักศึกษาเป็นผู้จัดการด้านคอมพิวเตอร์ และต้องให้คำแนะนำในการจัดหาคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานสำนักงาน นักศึกษา จะแนะนำให้ใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใด ระบุเหตุผลประกอบ
    ตอบ.คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เพราะ มีขนาดเล็กเหมาะกับการตั้งโต๊ะในสำนักงาน มีความสามารถที่เหมาะกับงาน ไม่ต้องลงทุนมากใช้งานได้ง่าย ง่ายต่อการใช้งานของบุคคลากร ง่ายต่อการติดตั้ง ประหยัดเนื้อที่ในสำนักงานอีก

5.ประเภทของภาษาคอมพิวเตอร์
1. ภาษาเครื่อง (Machine Language)
ก่อนปีค.ศ. 1952 มีภาษาคอมพิวเตอร์เพียงภาษาเดียวเท่านั้นคือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สุด เพราะใช้เลขฐานสองแทนข้อมูล และคำสั่งต่าง ๆ ทั้งหมดจะเป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยประมวลผลที่ใช้ นั่นคือปต่ละเครื่องก็จะมีรูปแบบของคำสั่งเฉพาะของตนเอง ซึ่งนักคำนวณและนักเขียนโปรแกรมในสมัยก่อนต้องรู้จักวิธีที่จะรวมตัวเลขเพื่อแทนคำสั่งต่า ๆ ทำให้การเขียนโปรแกรมยุ่งยากมาก นักคอมพิวเตอร์จึงได้พัฒนาภาษาแอสเซมบลีขึ้นมาเพื่อให้สามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น
2. ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)
ต่อมาในปีค.ศ. 1952 ได้มีการพัฒนาโปรแกรมภาษาระดับต่ำตัวใหม่ ชื่อภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) โดยที่ภาษาแอสเซมบลีใช้รหัสเป็นคำแทนคำสั่งภาษาเครื่อง ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ถึงแม้ว่าการเขียนโปรแกรมจะยังไม่สะดวกเท่ากับการเขียนโปรแกรมภาษาอื่น ๆ ในสมัยนี้ แต่ถ้าเปรียบเทียบในสมัยนั้นก็ถือว่าเป็นการพัฒนาไปสู่ยุคของการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ คือใช้สัญลักษณ์แทนเลข 0 และ 1 ของภาษาเครื่อง ซึ่งสัญลักษณ์ที่ใช้จะเป็นคำสั่งสั้น ๆ ที่จะได้ง่าย เรียกว่า นิมอนิกโคด (mnemonic code)
ถึงแม้ว่านิวมอนิกโคดที่ใช้จะไม่ใช้คำในภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายให้ผู้ใช้สามารถจดจำได้ง่ายกว่าสัญลักษณ์เลข 0 และ 1 ผู้เขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลียังสามารถกำหนดชื่อของที่เก็บข้อมูลในหน่วยความจำเป็นคำในภาษาอังกฤษ แทนที่จะเป็นเลขที่ตำแหน่งในหน่วยความจำ เช่น TOTAL , INCOME เป็นต้น แต่ข้อจำกัดของภาษาภาษาแอสเซมบลี คือ จะแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่องเช่นเดียวกับภาษาเครื่อง
ผู้เขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีต้องใช้ แอสเซมเบลอ (Assembler) แปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ
3. ภาษาระดับสูง (High Level Language)
ในปีค.ศ. 1960 ได้มีการพัฒนา ภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้น ภาษาระดับสูงจะใช้คำในภาษาอังกฤษแทนคำสั่งต่าง ๆ รวมทั้งสามารถใช้นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ได้ด้วย ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถใช้เวลามุ่งไปในการศึกษาถึงทางแก้ปัญหาเท่านั้น ไม่ต้องเป็นกังวลว่าคอมพิวเตอร์จะทำงานอย่างไรอีกต่อไป
4. ภาษาระดับสูงมาก (Very high-level Language)
จะเป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมได้สั้นกว่าภาษาในยุคก่อน ๆ การทำงานบางอย่างสามารถใช้เพียง 5 ถึง 10 บรรทัดเท่านั้น ในขณะที่ถ้าเขียนด้วยภาษา อาจต้องใช้ถึง 100 บรรทัด โดยพื้นฐานแล้ว ภาษาในยุคที่ 4 นี้มีคุณสมบัติที่แยกจากภาษาใยุคก่อน ๆ อย่างชัดเจน กล่าวคือภาษาในยุคก่อนนั้นใช้หลักการของ การเขียนโปรแกรมแบบโพรซีเยอร์ (procedurl language) ในขณะที่ภาษาในยุคที่ 4 จะเป็นแบบ ไม่ใช้โพรซีเยอร์ (nonprocedurl language) ผู้เขียนโปรแกรมเพียงแต่กำหนดว่าต้องการให้โปรแกรมทำอะไรบ้างก็สามารถเขียนโปรแกรมได้ทันที โดยไม่ต้องทราบว่าทำได้อย่างไร ทำให้การเขียนโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว
5. ภาษาธรรมชาติ (Nature Language)
เป็น ภาษายุคที่ 5 (fifth generation language) หรือ 5GLs ธรรมชาติหมายถึงธรรมชาติของมนุษย์ คือไม่ต้องสนใจถึงคำสั่งหรือลำดับของข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ใช้เพียงแต่พิมพ์สิ่งที่ต้องการลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นคำหรือประโยคตามที่ผู้ใช้เข้าใจ ซึ่งจะทำให้มีรูปแบบของคำสั่งหรือประโยคที่แตกต่างกันออกไปได้มากมาย เพราะผู้ใช้แต่ละคนอาจจะใช้ประโยคต่างกัน ใช้คำศัพท์ต่างกัน หรือแม้กระทั่งบางคนอาจจะใช้ศัพท์แสลงก็ได้ คอมพิวเตอร์จะพยายามแปลคำหรือประโยคเหล่านั้นตามคำสั่ง แต่ถ้าไม่สามารถแปลให้เข้าใจได้ ก็จะมีคำถามกลับมาถามผู้ใช้เพื่อยืนยันความถูกต้อง ภาษาธรรมชาติจะใช้ ระบบฐานความรู้ (knowledge base system) ช่วยในการแปลความหมายของคำสั่งต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น