วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up
เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับ ความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์ เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต
ข้อดี  ของการเชื่อมต่อแบบ Dial Up คือ
อุปกรณ์มีราคาถูก
การติดตั้งง่าย
การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทำได้ง่าย
ข้อเสีย  คืออัตราการรับส่งข้อมูลค่อนข้างต่ำเพียงไม่เกิน 56 kbit (กิโลบิต) ต่อวินาที

2.การเชื่อมต่อแบบ ISDN (Internet Services Digital Network)
                เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ
1.       ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN
2.       การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
3.       ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ ISDN ได้หรือไม่
ข้อดี คือไม่มีสัญญาณรบกวน มีความเร็วสูง และยังคงสามารถใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยไปได้พร้อม ๆ กับการเล่นอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย คือมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบ Dial-Up

3.การเชื่อมต่อแบบ DSL (Digital Subscriber Line)

              เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ
1.       ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่
2.       บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ DSL
3.       การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ
4.       ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือมีความเร็วสูงกว่าแบบ Dial-Up และ ISDN
ข้อเสีย คือไม่สามารถระบุความเร็วที่แน่นอนได้

4.การเชื่อมต่อแบบ Cable              เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
1.       ใช้ Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ
2.       ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือถ้ามีสายเคเบิลทีวีอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยเพิ่มอุปกรณ์ Cable Modem ก็สามารถเชื่อมต่อได้
ข้อเสีย คือถ้ามีผู้ใช้เคเบิลในบริเวณใกล้เคียงมาก อาจทำให้การรับส่งข้อมูลช้าลง

5.การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites)               เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
1.       จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม
2.       ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย ของการเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) ได้แก่
1.       ต้องส่งผ่านสายโทรศัพท์เหมือนแบบอื่น ๆ
2.       ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำมากเมื่อเทียบกับแบบอื่น ๆ
3.       ค่าใช้จ่ายสูง

6.ระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless Local Area Network)
                คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มี   ความคล่องตัวมาก ซึ่งอาจจะนำมาใช้ทดแทนหรือเพิ่มต่อกับระบบเครือข่ายแลนใช้สายแบบดั้งเดิม โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ, ทะลุกำแพง, เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สาย
ข้อดีของระบบ Wireless LAN
          1. สะดวกในการเคลื่อนย้าย ติดตั้ง เนื่องจาก WLAN ไม่จำเป็นต้องมีสายเคเบิ้ลในการต่อพ่วง
          2. ง่ายในการติดตั้ง เพราะไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล
          3. ลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่ต้องจำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา ในระยะยาว
          4. สามารถขยายเครือข่ายได้ไม่จำกัด
ข้อเสียของระบบ Wireless LAN
          1. มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง นั่นหมายความว่า ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น
          2. มีสัญญาณรบกวนสูง
          3. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
          4. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้มีปัญหาในการใช้งานร่วมกัน
          5. ราคาแพงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย
          6. มีความเร็วไม่สูงมากนัก

7. GPRS : General Packet Radio Service             หมายถึง ระบบการสื่อสารไร้สาย (wireless) ที่สามารถรับ - ส่งข้อมูลด้วความเร็วสูงสุดถึง 171.2 kbps ลักษณะการส่งข้อมูลจะมีการแบ่งย่อยออกเป็นส่วนๆ ที่เรียกว่า package และสามารถติดต่อไปยัง Internet ได้โดยผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ระหว่างการใช้งาน GPRS ยังสามารถรับโทรศัพท์พร้อมกันได้ด้วย อย่างไรก็ตามการทำงานของ GPRS เป็นการแบ่งช่องสัญญาณที่มี 8 ช่องสัญญาณ ( 6 ช่องสัญญาณใช้สำหรับข้อมูลเสียง, 2 ช่องสัญญาณสำหรับข้อมูล) ซึ่งทำให้ถ้ามีการใช้งานในปริมาณมากๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน ย่อมทำให้การโอนข้อมูลค่อนข้างล่าช้าลงอย่างเห็นได้ชัด
ข้อดีของ GPRS
- การเชื่อมต่อเป็นลักษณะ Always On
- รับข้อมูลในรูปแบบ Video
- รับข้อมูลในรูปแบบ MMS
- ความเร็วในการทำงานดีกว่า GSM
- รับส่งข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลธนาคาร เมล์ หุ้น ข้อมูลช๊อปปิ้งและอื่นๆ อีกมากมาย
- เชื่อมต่อกับ PDA,
- เชื่อมต่อกับ Notebook

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คำถามท้ายบท

จากใบปลิว


1.               Intel Core i7-860 processor (2.8GHz with Turbo Boost up to 3.46GHz, 8 MB Cache)
2.               Windows 7 Professional (32 bit)
3.               640GB SATA HDD
4.               2x2GB DDR3-1333 Up to 16 GB
5.               Intel Q57 Express Chipset
6.               DVD-RW 16X SuperMulti
7.               Integrated Intel HD Graphics
8.               1 Parallel Port, 1 Serial Port
9.               Gigabit Ethernet LAN on Board
10.           Embedded High Definition Audio Codec 5.1
11.           Warranty 3 years part, Labour & onsite service

1.               ซีพียูยี่ห้อ อินเทล รุ่น คอร์ ไอเจ็ด (เซเว่น) ความเร็ว 2.8 GHz แต่สามารถปรับให้สูงได้สูงสุด 3.46 GHz ด้วยความสามารถของระบบ Turbo Boost มีแคช 8 MB
2.               วินโดวส์ 7 รุ่น 32 บิท (หมายถึงมีการติดตั้ง Windows ในคอมพิวเตอร์มาให้เลย (ระวังถ้าระบุเป็น DOS, Linux คุณอาจจำเป็นต้องซื้อ Windows ใหม่)
3.               ฮาร์ดดิสก์ความจุ 640 กิกะไบต์ (มีความจุค่อนข้างมาก)
4.               หน่วยความจำ หรือแรมมี 2 ชิ้นๆ ละ 2 กิกะไบต์
5.               ชิบเซ็ทของ อินเทล ที่เหมาะกับซีพียูตระกูล Core i
6.               ดีวีดีไดรซ์สำหรับผ่านและบันทึกลงแผ่น CD/DVD มีความเร็ว 16 เท่า
7.               การ์ดจอ
8.               พอร์ตในการเชื่อมต่อ แบบ Parallel (ต่อเครื่องพิมพ์แบบเก่า) และ Serial (สำหรับต่อเม้าส์, จอยสติกส์ หรือ พอร์ตเกมส์)
9.               มีการ์ดแลน สำหรับเชื่อมต่อเน็ตเวิร์ค ระวังความเร็วกิกะบิต
10.           ระบบเสียงรองรับ รหัสสัญญาณเสียง 5.1
11.           ประกัน 3 ปี รวมอะไหล่ ค่าแรง และบริการถึงที่บ้านหรือที่ทำงาน

2. ยกตัวอย่างซอฟต์แวร์ระบบมา 3 ตัวอย่าง
     ตอบ.  1.Window
                2.LINUX
                3.UNIX
                4.DOS

3.ให้ระบุแนวโน้มของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ มาอย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
    ตอบ.   -  Hard ware
1. จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. จะมีขนาดเล็กลง
3. จะมีอุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่ทำให้ใช้งานสะดวก
               - Software
1. จะมีโปรแกรมอำนวยความสะดวกและตรงความต้องการให้เลือกใช้มากขึ้น
2. โปรแกรมจะใช้งานง่ายขึ้น
3. มีการแข่งขันกันพัฒนา Software มากขึ้น

4. ถ้านักศึกษาเป็นผู้จัดการด้านคอมพิวเตอร์ และต้องให้คำแนะนำในการจัดหาคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานสำนักงาน นักศึกษา จะแนะนำให้ใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใด ระบุเหตุผลประกอบ
    ตอบ.คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เพราะ มีขนาดเล็กเหมาะกับการตั้งโต๊ะในสำนักงาน มีความสามารถที่เหมาะกับงาน ไม่ต้องลงทุนมากใช้งานได้ง่าย ง่ายต่อการใช้งานของบุคคลากร ง่ายต่อการติดตั้ง ประหยัดเนื้อที่ในสำนักงานอีก

5.ประเภทของภาษาคอมพิวเตอร์
1. ภาษาเครื่อง (Machine Language)
ก่อนปีค.ศ. 1952 มีภาษาคอมพิวเตอร์เพียงภาษาเดียวเท่านั้นคือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สุด เพราะใช้เลขฐานสองแทนข้อมูล และคำสั่งต่าง ๆ ทั้งหมดจะเป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยประมวลผลที่ใช้ นั่นคือปต่ละเครื่องก็จะมีรูปแบบของคำสั่งเฉพาะของตนเอง ซึ่งนักคำนวณและนักเขียนโปรแกรมในสมัยก่อนต้องรู้จักวิธีที่จะรวมตัวเลขเพื่อแทนคำสั่งต่า ๆ ทำให้การเขียนโปรแกรมยุ่งยากมาก นักคอมพิวเตอร์จึงได้พัฒนาภาษาแอสเซมบลีขึ้นมาเพื่อให้สามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น
2. ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)
ต่อมาในปีค.ศ. 1952 ได้มีการพัฒนาโปรแกรมภาษาระดับต่ำตัวใหม่ ชื่อภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) โดยที่ภาษาแอสเซมบลีใช้รหัสเป็นคำแทนคำสั่งภาษาเครื่อง ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ถึงแม้ว่าการเขียนโปรแกรมจะยังไม่สะดวกเท่ากับการเขียนโปรแกรมภาษาอื่น ๆ ในสมัยนี้ แต่ถ้าเปรียบเทียบในสมัยนั้นก็ถือว่าเป็นการพัฒนาไปสู่ยุคของการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ คือใช้สัญลักษณ์แทนเลข 0 และ 1 ของภาษาเครื่อง ซึ่งสัญลักษณ์ที่ใช้จะเป็นคำสั่งสั้น ๆ ที่จะได้ง่าย เรียกว่า นิมอนิกโคด (mnemonic code)
ถึงแม้ว่านิวมอนิกโคดที่ใช้จะไม่ใช้คำในภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายให้ผู้ใช้สามารถจดจำได้ง่ายกว่าสัญลักษณ์เลข 0 และ 1 ผู้เขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลียังสามารถกำหนดชื่อของที่เก็บข้อมูลในหน่วยความจำเป็นคำในภาษาอังกฤษ แทนที่จะเป็นเลขที่ตำแหน่งในหน่วยความจำ เช่น TOTAL , INCOME เป็นต้น แต่ข้อจำกัดของภาษาภาษาแอสเซมบลี คือ จะแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่องเช่นเดียวกับภาษาเครื่อง
ผู้เขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีต้องใช้ แอสเซมเบลอ (Assembler) แปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ
3. ภาษาระดับสูง (High Level Language)
ในปีค.ศ. 1960 ได้มีการพัฒนา ภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้น ภาษาระดับสูงจะใช้คำในภาษาอังกฤษแทนคำสั่งต่าง ๆ รวมทั้งสามารถใช้นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ได้ด้วย ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถใช้เวลามุ่งไปในการศึกษาถึงทางแก้ปัญหาเท่านั้น ไม่ต้องเป็นกังวลว่าคอมพิวเตอร์จะทำงานอย่างไรอีกต่อไป
4. ภาษาระดับสูงมาก (Very high-level Language)
จะเป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมได้สั้นกว่าภาษาในยุคก่อน ๆ การทำงานบางอย่างสามารถใช้เพียง 5 ถึง 10 บรรทัดเท่านั้น ในขณะที่ถ้าเขียนด้วยภาษา อาจต้องใช้ถึง 100 บรรทัด โดยพื้นฐานแล้ว ภาษาในยุคที่ 4 นี้มีคุณสมบัติที่แยกจากภาษาใยุคก่อน ๆ อย่างชัดเจน กล่าวคือภาษาในยุคก่อนนั้นใช้หลักการของ การเขียนโปรแกรมแบบโพรซีเยอร์ (procedurl language) ในขณะที่ภาษาในยุคที่ 4 จะเป็นแบบ ไม่ใช้โพรซีเยอร์ (nonprocedurl language) ผู้เขียนโปรแกรมเพียงแต่กำหนดว่าต้องการให้โปรแกรมทำอะไรบ้างก็สามารถเขียนโปรแกรมได้ทันที โดยไม่ต้องทราบว่าทำได้อย่างไร ทำให้การเขียนโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว
5. ภาษาธรรมชาติ (Nature Language)
เป็น ภาษายุคที่ 5 (fifth generation language) หรือ 5GLs ธรรมชาติหมายถึงธรรมชาติของมนุษย์ คือไม่ต้องสนใจถึงคำสั่งหรือลำดับของข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ใช้เพียงแต่พิมพ์สิ่งที่ต้องการลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นคำหรือประโยคตามที่ผู้ใช้เข้าใจ ซึ่งจะทำให้มีรูปแบบของคำสั่งหรือประโยคที่แตกต่างกันออกไปได้มากมาย เพราะผู้ใช้แต่ละคนอาจจะใช้ประโยคต่างกัน ใช้คำศัพท์ต่างกัน หรือแม้กระทั่งบางคนอาจจะใช้ศัพท์แสลงก็ได้ คอมพิวเตอร์จะพยายามแปลคำหรือประโยคเหล่านั้นตามคำสั่ง แต่ถ้าไม่สามารถแปลให้เข้าใจได้ ก็จะมีคำถามกลับมาถามผู้ใช้เพื่อยืนยันความถูกต้อง ภาษาธรรมชาติจะใช้ ระบบฐานความรู้ (knowledge base system) ช่วยในการแปลความหมายของคำสั่งต่าง ๆ

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กรณีศึกษา: การใช้พีดีเอในร้านขายก๋วยเตี๋ยว

1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- พนักงานสามารถรับรายการอาหารได้อย่างรวดเร็ว
- พนักงานที่รับรายการอาหารสามารถประสานงานกับพนักงานในครัว
รวดเร็วและเข้าใจตรงกัน
- ทำให้การปฏิบัติงานของพนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งด้านการ บริหารที่รวดเร็ว
และการช่วยลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน
- การจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ โดยเมื่อมีการรับรายการอาหารข้อมูลเหล่านั้นก็จะถูกบันทึกในฐานข้อมูลของร้าน จึงทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูล
ภายหลังได้ และทำให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ
- เมื่อนำพีดีเอเข้ามาช่วยทำให้ระบบการทำงานมีประสิทธิภาพ
เจ้าของร้านจึงสามารถทำบัญชี และสรุปยอดขายได้ง่าย

2. ช่วยสร้างทางเลือกในการแข่งขัน- จากประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในการบริการและสามารถดึงดูดลูกค้าให้หันมาใช้บริการเพิ่มมาก
- ร้านก๋วยเตี๋ยว ได้พัฒนาการบริการโดยการนำเครื่อง PDA เข้ามาช่วยในการรับรายการอาหาร ทำให้การบริการรวดเร็วขึ้น ลูกค้าได้รับอาหารที่ถูกต้องแม่นยำ
3. ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
เนื่องจากข้อมูลสารสนเทศที่ได้มีประสิทธิ น่าเชื่อถือ เจ้าของร้านสามารถนำข้อมูลสารสนเทศนั้นไปใช้ในการตัดสินใจด้านต่างๆ เช่น
- เพิ่มยอดขาย
- ขยายสาขา
- หรือแม้แต่การปรับเงินเดือนพนักงานด้วย

4. ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต
- ทำให้ลูกค้ามีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นเพราะลูกค้าไม่ต้องใช้เวลาในการรออาหารนานเกินไป
- เมื่อลูกค้าเกิดความพึงพอใจในการบริการแล้ว พนักงานก็จะได้รับคำชมจากลูกค้า ทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกดีและอยากทำงานกับร้านต่อ
- ทำให้เจ้าของร้านเกิดความภาคภูมิใจที่ลูกค้าให้ความไว้วางใจและพนักงานก็ให้ความเคารพนับถือแล้วก็ปฏิบัติงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กรณีศึกษา บทที่ 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานร้านไอศครีมเบเกอรี่

                1.  ประโยชน์ที่ร้านไอศครีม  Iberry  นำไอทีเข้ามาช่วยการบริหารงาน  นอกจากการ
แก้ปัญหาข้างต้นแล้ว  ท่านคิดว่าทางร้านยังได้รับประโยชน์ใดได้บ้าง
-ทำให้รายได้ไม่สูญเสียไปกับไอศกรีมที่เสียหาย
-ทำให้ทราบว่าไอศกรีมรสชาติใดขายดีที่สุดและช่งเวลาไหน เพื่อจะได้ผลิตและจำหน่ายได้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า
-ป้องกันการทุจริตของพนักงานขายและสามารถควบคุมและดูแล พนักงานและสาขาย่ยต่างๆได้อย่างทั่วถึง
2. ท่านคิดว่าในอนาคตร้านไอศครีม  Iberry  สามารถนำไอทีเข้ามาช่วยงานด้านใดอีก
ได้บ้าง
-ใช้ในการโฆษณาการขายผ่านระบบit เพื่อพัฒนาการขายและพัฒนาขยายกิจการจนสามารถส่งออกต่างประเทศได้ หากโฆษณาผ่านทางสื่อทางอินเตอร์เน็ต
 3.  จากแนวคิดการนำไอทีมาใช้แก้ปัญหาของผู้บริหารร้านไอศครีม  Iberry  นั้น  ท่านคิดว่า
สามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจใดได้บ้าง  จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
- ธุรกิจซ่อมบำรุง
-สามารถนำระบบซอฟแวร์ประยุกต์มาใช้ในการรับเครื่องเข้าและส่งเครื่องออกให้ถึงมือลูกค้า อย่างเป็นระบบ และป้องกันการสูญหายการเสียหายของเครื่องลูกค้า
-ใช้กล้องวงจรปิดตามเคาเตอร์รับเครื่องตามห้องเก็บเครื่องซ่อมเสร็จและพร้อมให้กับลูกค้ามารับเครื่องไปใช้งาน