วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กรณีศึกษา SF Cinema City นำไอทีพัฒนาธุรกิจและบริการ

                    เอส เอฟ ซีนีม่า ซิตี้ ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายภาพยนตร์ และธุรกิจโรงภาพยนตร์ในภาคตะวันออก และในปี  พ.ศ. 2542 ได้ขยายธุรกิจมาสู่กรุงเทพมหานคร โดยมีศูนย์การค้ามาบุญครองเซ็นเตอร์เป็นที่ตั้งโครงการสาขาแรก
                   เนื่องจากธุรกิจโรงภาพยนตร์ที่นอกจากจะแข่งขันด้วยการขยายสาขาให้คลอบคลุมพื้นที่แล้ว การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าด้วยบริการใหม่ๆ ก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่จะมัดใจลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอีกดังนั้น ผู้บริหารโรงภาพยนตร์จึงได้นำระบบตั๋วภาพยนตร์ ที่ชื่อว่า SF I-Ticket ซึ่งสามารถรับจองที่นั่งได้จากเว็บไซต์ www.sfcinemacity.com โดยตรง ผู้ใช้สามารถเห็นที่นั่งว่างทั้งหมดในโรงภาพยนตร์เหมือนกับเคาน์เตอร์ขายตั๋วที่โรงภาพยนตร์ และซื้อตั๋วที่นั่งที่ต้องการได้ โดยจ่ายค่าตั๋วผ่านบัตรเครดิต และผู้ใช้บริการสามารถพิมพ์ตั๋วจากบ้านด้วยบริการ Print@home ซึ่งพร้อมเข้าโรงภาพยนตร์ได้ทันที โดยไม่ต้องไปถึงโรงภาพยนตร์ก่อนครึ่งชั่วโมง
คำถาม
1.       ระบบไอทีที่ SF Cinema City นำมาใช้นี้ส่งผลต่อเจ้าของธุรกิจและผู้ใช้บริการอย่างไรบ้าง
-          เพิ่มทางเลือกให้แก่ลูกค้า
-          อำนวยความสะดวกสบายแก่ลูกค้า
-          ประหยัดต้นทุนในการปริ้นท์ตั๋วและลดต้นทุนในการจ้างคนขายตั๋วหนัง

2.       ระบบที่นำมาใช้นี้มีข้อจำกัดอะไรบ้าง
-          คนที่ไม่มีบัตรเครดิตไม่สามารถจะใช้บริการได้
-          คนที่ไม่มีอินเตอร์เน็ตหรือว่าเครื่องปริ้นท์ไม่สามารถใช้บริการได้
-       หรือในบางทีที่มีการจองตั๋วภาพยนตร์เรื่องดังๆ ปัญหาทางระบบเครือข่ายการแย่งกันจองตั๋วภาพยนตร์อาจทำให้เข้าสู่เว็บไซต์ไม่ได้

3.       หากจะนำระบบไอทีของ SF Cinema City มาให้บริการด้านอื่นๆจะแนะนำให้นำไอทีมาต่อยอดได้อย่างไรบ้าง
-          กรณีในปัจจุบันการจองตั๋วนั้นจะจองได้เฉพาะวันไหนวันนั้นเท่านั้น (ยกเว้นภาพยนตร์บางเรื่อง) เราอาจจะให้เปิดจองข้ามวันได้
-          อาจมีการเสริมการบริการด้านอื่นเช่น ซื้อของที่เป็นเหมือนเซเรเนดของภาพยนตร์ออนไลน์ได้


 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น